Sunday, December 23, 2012

ติดตั้งและคอนฟิก Tomcat 5 บน CentOS 5

Tomcat เป็นโปรแกรมที่จะทำให้เราสามารถรันเว็บที่เขียนด้วย Java หรือ XML ได้ การติดตั้ง Tomcat 5 บน CentOS ตอนนี้ไม่ได้ยุ่งยากเหมือนสมัยก่อนอีกแล้วครับ ง่ายๆเพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น มาดูกันครับ

1. ติดตั้ง Tomcat 5 ด้วยคำสั่ง yum
โค้ด: เลือกทั้งหมด
yum install tomcat5 tomcat5-webapps tomcat5-admin-webapps


2. เซ็ตให้รันเป็น service
โค้ด: เลือกทั้งหมด
chkconfig --level 35 tomcat5


3. ติดตั้ง Java SE SDK
เข้าเว็บนี้ครับ
โค้ด: เลือกทั้งหมด
http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/index.html

แล้วเลือกดาวน์โหลด Java SE JDK จากนั้นเลือก Platform และดาวน์โหลดมาเก็บไว้ในเครื่องคอม แล้วอัพโหลดเข้า CentOS

โค้ด: เลือกทั้งหมด
chmod +x jdk-6u24-linux-i586-rpm.bin
./jdk-6u24-linux-i586-rpm-bin


ข้อความขณะติดตั้ง

Unpacking...
Checksumming...
Extracting...
UnZipSFX 5.50 of 17 February 2002, by Info-ZIP (Zip-Bugs@lists.wku.edu).
inflating: jdk-6u24-linux-i586.rpm
inflating: sun-javadb-common-10.6.2-1.1.i386.rpm
inflating: sun-javadb-core-10.6.2-1.1.i386.rpm
inflating: sun-javadb-client-10.6.2-1.1.i386.rpm
inflating: sun-javadb-demo-10.6.2-1.1.i386.rpm
inflating: sun-javadb-docs-10.6.2-1.1.i386.rpm
inflating: sun-javadb-javadoc-10.6.2-1.1.i386.rpm
Preparing... ########################################### [100%]
1:jdk ########################################### [100%]
Unpacking JAR files...
rt.jar...
jsse.jar...
charsets.jar...
tools.jar...
localedata.jar...
plugin.jar...
javaws.jar...
deploy.jar...
Installing JavaDB
Preparing... ########################################### [100%]
1:sun-javadb-common ########################################### [ 17%]
2:sun-javadb-core ########################################### [ 33%]
3:sun-javadb-client ########################################### [ 50%]
4:sun-javadb-demo ########################################### [ 67%]
5:sun-javadb-docs ########################################### [ 83%]
6:sun-javadb-javadoc ########################################### [100%]

Java(TM) SE Development Kit 6 successfully installed.

Product Registration is FREE and includes many benefits:
* Notification of new versions, patches, and updates
* Special offers on Oracle products, services and training
* Access to early releases and documentation

Product and system data will be collected. If your configuration
supports a browser, the JDK Product Registration form will
be presented. If you do not register, none of this information
will be saved. You may also register your JDK later by
opening the register.html file (located in the JDK installation
directory) in a browser.

For more information on what data Registration collects and
how it is managed and used, see:
http://java.sun.com/javase/registration ... ivacy.html

Press Enter to continue.....

Done.

4.แก้ไขไฟล์ /etc/sysconfig/tomcat5

แก้บรรทัด
โค้ด: เลือกทั้งหมด
JAVA_HOME = "/usr/java/jdk1.6.0_24"

ให้มันแม๊ตกับ JDK ตัวที่เราเพิ่งติดตั้งไปก่อนหน้านี้ ผมติดตั้ง JDK 1.6.0_24 มันจะอยู่ที่ไดเร็คตอรี่ /usr/java/jdk_1.6.0_24

5. เพิ่ม role admin และ manager ในไฟล์ tomcat-users.xml
เพื่อให้ล๊อกอินเข้าเว็บ Tomcat Admin ได้
ดีฟอลท์ Tomcat5 ยังไม่ได้เปิดให้ admin หรือ manager ล๊อกอินเข้าเว็บ /admin เราต้องคอนฟิกเพิ่มเอง

โค้ด: เลือกทั้งหมด
vi /usr/share/tomcat5/conf/tomcat-users.xml


เดิม
โค้ด: เลือกทั้งหมด
<?xml version='1.0' encoding='utf-8'?>
<tomcat-users>
  <role rolename="tomcat"/>
  <role rolename="role1"/>
  <user username="tomcat" password="tomcat" roles="tomcat"/>
  <user username="both" password="tomcat" roles="tomcat,role1"/>
  <user username="role1" password="tomcat" roles="role1"/>
</tomcat-users>


ใหม่
โค้ด: เลือกทั้งหมด
<?xml version='1.0' encoding='utf-8'?>
<tomcat-users>
  <role rolename="manager"/>
  <role rolename="admin"/>
  <role rolename="tomcat"/>
  <role rolename="role1"/>
  <user username="admin" password="admin" roles="admin,manager"/>
  <user username="both" password="tomcat" roles="tomcat,role1"/>
  <user username="tomcat" password="tomcat" roles="tomcat"/>
  <user username="role1" password="tomcat" roles="role1"/>
</tomcat-users>


6. รัน Tomcat
โค้ด: เลือกทั้งหมด
service tomcat5 start


ถ้าสตาร์ท Tomcat5 แล้วเจอข้อความแบบนี้

Starting tomcat5:
/usr/bin/rebuild-jar-repository: error: Could not find jdbc-stdext Java extension for this JVM
/usr/bin/rebuild-jar-repository: error: Could not find jndi Java extension for this JVM
/usr/bin/rebuild-jar-repository: error: Some detected jars were not found for this jvm
/usr/bin/rebuild-jar-repository: error: Could not find jaas Java extension for this JVM
/usr/bin/rebuild-jar-repository: error: Some detected jars were not found for this jvm
[ OK ]

ก็ปล่อยไปก่อนครับ แต่มันก็ยังรันได้

7. เช็คว่า Tomcat รันหรือเปล่า
ดีฟอลท์มันจะรันที่พอร์ต TCP 8080
โค้ด: เลือกทั้งหมด
netstat -ln | grep 8080

มีพอร์ต 8080 รันอยู่ครับ แสดงว่าเวอร์ค
tcp 0 0 0.0.0.0:8080 0.0.0.0:* LISTEN

8. เทสว่าเราติดตั้ง Tomcat ได้สำเร็จเรียบร้อยดีหรือเปล่า
ลองรันเว็บ Admin ของ Tomcat ดูครับ

http://192.168.100.1:8080/admin





ก็สำเร็จดีครับ ต่อไปก็เขียน Java Web Application ได้เลย

Install Tomcat 7 on Ubuntu 12.04

Install Tomcat 7 on Ubuntu 12.04




Apache has officially launched version 7.0 of the servlet container for Java applications, Tomcat. Major changes in this version, you can highlight support for Servlet 3.0 and JavaServer Pages 2.2.

Install JDK
See this post: Install JDK 6 update 23 in Ubuntu 10.10

Installation

The first thing to do is download the package "apache-tomcat-7.0.6.tar.gz" from the NEXT link
http://tomcat.apache.org/download-70.cgi [tar.gz]
Now unpack it with the following command:
tar xvzf apache-tomcat-7.0.8.tar.gz

Then we let in a more appropriate directory, in our case in / usr/share/tomcat7, but can be in any directory. We do this with the command:
sudo mv apache-tomcat-7.0.8/ /usr/share/tomcat7

Now we define the environment variables JAVA_HOME and JRE_HOME. This file is in the "environment" in / etc. Command to edit the file:
sudo gedit /etc/environment

Here we record the routes where we have installed Java in my case this is as follows:

JAVA_HOME="/usr/local/jdk1.6.0_23"
JRE_HOME="/usr/local/jdk1.6.0_23/jre"
PATH="...(other path):$JAVA_HOME:$JRE_HOME"

IMPORTANT: Verify the routes where they have installed Java.

I have had some problems in defining these environment variables, as sometimes tomcat does not recognize, but a surefire way of recognizing that tomcat is to define the file paths inside "catalina.sh"located in tomcat7/bin. To modify this file use the command:
sudo gedit /usr/share/tomcat7/bin/catalina.sh

Now just insert the JAVA_HOME and JRE_HOME after the first line, so the file is as follows:
#!/bin/sh
JAVA_HOME="/usr/local/jdk1.6.0_23"
JRE_HOME="/usr/local/jdk1.6.0_23/jre"
# Licensed to the Apache Software Foundation (ASF)...
#...
#...
....

Now let's configure Tomcat users, this is done in the file "tomcat-users.xml"directory tomcat7/conf. Command to edit the file:
sudo gedit /usr/share/tomcat7/conf/tomcat-users.xml

Unlike previous versions where the administrator should own role "manager" now it should be "manager-gui"to operate on the web administration tomcat7. The file would be as follows:


<?xml version='1.0' encoding='utf-8'?>

<tomcat-users>
<role rolename="manager-gui"/>
<role rolename="manager-script"/>
<role rolename="manager"/>
<role rolename="admin-gui"/>
<role rolename="admin-script"/>
<role rolename="admin"/>

<user username="usuario" password="contrasena" roles="manager-gui,admin-gui,manager,admin,manager-script,admin-script"/>
</tomcat-users>



Now you should be all ready to try tomcat7.

First we must lift the server with the following command:
sudo /usr/share/tomcat7/bin/startup.sh

With this we get the following output on console:
Using CATALINA_BASE: /usr/share/tomcat7
Using CATALINA_HOME: /usr/share/tomcat7
Using JRE_HOME: /usr/local/jdk1.6.0_20/jre
Using CLASSPATH: /usr/share/tomcat7/bin/bootstrap.jar:/usr/share/tomcat7/bin/tomcat-juli.jar

Verify that the JRE_HOME is where we define.

Now open your web browser and type the following url:
http://127.0.0.1:8080/

So we get the following page:

If we enter the administration Tomcat Manager we click on the menu or directly at URL:
http://127.0.0.1:8080/manager/html

Here we ask the user data from previous record in mind tomcat-users.xml.

I recommend testing the sample to make sure everything works ok, they are in the section "Miscellaneous" from the side menu or at the URL:
http://127.0.0.1:8080/examples/

Commands

Start server:
sudo /usr/share/tomcat7/bin/startup.sh

Stop server:
sudo /usr/share/tomcat7/bin/shutdown.sh

Automatic Starting

To make tomcat automatically start when we boot up the computer, you can add a script to make it auto-start and shutdown.


sudo gedit /etc/init.d/tomcat7

Now paste in the following:


# Tomcat auto-start
#
# description: Auto-starts tomcat
# processname: tomcat
# pidfile: /var/run/tomcat.pid

case $1 in
start)
sh /usr/share/tomcat7/bin/startup.sh
;;
stop)
sh /usr/share/tomcat7/bin/shutdown.sh
;;
restart)
sh /usr/share/tomcat7/bin/shutdown.sh
sh /usr/share/tomcat7/bin/startup.sh
;;
esac
exit 0

You’ll need to make the script executable by running the chmod command:


sudo chmod 755 /etc/init.d/tomcat7

The last step is actually linking this script to the startup folders with a symbolic link. Execute these two commands and we should be on our way.


sudo ln -s /etc/init.d/tomcat7 /etc/rc1.d/K99tomcat
sudo ln -s /etc/init.d/tomcat7 /etc/rc2.d/S99tomcat

Tomcat should now be fully installed and operational. Enjoy!

sudo /etc/init.d/tomcat7 restart

How to install Tomcat on Centos VPS

How to install Tomcat on Centos VPS
ต่อไปนี้ผมจะอธฺบายขั้นตอนในการลง apache tomcat สำหรับเป็น web server ทางฝั่งของนักพัฒนา java กันผ่านทาง vps ของใจเดียวโฮสติ้งกันครับ โดยหากให้ใจเดียวจัดการลงให้ก็สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1. การลงโดยใช้ Image ที่มีอยู่แล้วของ http://www.turnkeylinux.org/tomcat-apache
2. ลงโดยการดาวโหลไฟล์มา Install เองครับโดยในที่นี่่นี้ผมได้สอนในส่วนของการลงผ่านทางการดาวน์โหลดซอร์สโค้ดนะครับ

ติดตั้ง JAVA JDK 1.7

ในขั้นตอนการติดตั้งสามารหาโหลด jdk ได้จาก http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/index.html โดยสามารถเลือก version ล่าสุดได้เลยขณะที่ผมเขียน tutorial นี้เป็น jdk 7u9 ครับ โดยในการดาวน์โหลดให้โหลดมาเป็น .tar.gz นะครับและเลือกตามสถาปัตยกรรม Os ที่ลงด้วยว่าเป็น i386 หรือ x64 นะครับ
#mkdir /user/admin/download
#cd /user/admin/download
#wget http://download.oracle.com/otn-pub/java/jdk/7u9-b05/jdk-7u9-linux-i586.tar.gz -o jdk-7u9-linux-i586.tar.gz

หลังจากดาวน์โหลดมาแล้วก็ให้แตกไฟล์ได้เลย
#mkdir /usr/java
#cd /usr/java
#cp /user/admin/download/7u9-b05/jdk-7u9-linux-i586.tar.gz /usr/java/7u9-b05/jdk-7u9-linux-i586.tar.gz
#tar -zxvf jdk-7u9-linux-i586.tar.gz

เราจะได้ directory ที่สร้างมาจากการแตกไฟล์ /usr/java/jdk1.7.0_09 เพื่อนให้งานผมสร้าง symbol link ในการอ้างอิง
#ln -s /usr/java/jdk1.7.0_09/ /usr/java/jdk
จากนั้นให้แก้ไขให้ environment รู้จักว่าเราได้ลง java แล้วรวมถึงสร้าง path สำหรับ execute ไปยัง jdk ด้วยโดยการแก้ไข /etc/profile เพิ่มตามด้านล่างด้านล่างสุดของไฟล์
#vi /etc/profile
:JAVA_HOME=/usr/java/jdk
:export JAVA_HOME
:PATH=$JAVA_HOME/bin:$PATH
:export PATH

จากนั้นโหลดค่าของ environment ใหม่ และทดลองว่า PATH ถูกต้องหรือไม่
#source /etc/profile
#java -version
java version "1.7.0_09"
Java(TM) SE Runtime Environment (build 1.7.0_09-b05)
Java HotSpot(TM) Server VM (build 23.5-b02, mixed mode)

ติดตั้ง APACHE TOMCAT 7

ในการติดตั้งให้ดาวน์โหลดไฟล์ core ของ apache-tomcat หลังจากนั้นก็แตกไฟล์เพื่อติดตั้งซึ่งผมได้ติดตั้ง version 7.0.32 ขณะทำการเขียนบทความ
#cd /home/user/admin/download
#wget http://mirrors.issp.co.th/apache/tomcat/tomcat-7/v7.0.32/bin/apache-tomcat-7.0.32.tar.gz
#cp apache-tomcat-7.0.32.tar.gz /usr/share/
#cd /usr/share
#tar -zxvf apache-tomcat-7.0.32.tar.gz
#ln -s /usr/share/apache-tomcat-7.0.32/ /usr/share/apache-tomcat

การตั้งค่า Tomcat ให้รันเป็น Service

เนื่องจากเราไม่ได้ทำการลงผ่าน yum ดังนั้นในส่วนของสคริปต์สำหรับเริ่มการทำงาน tomcat ไม่ได้มาพร้อมกับการติดตั้งดังนั้นเราต้องมีการแก้ไขเอง
#vi /etc/init.d/tomcat
ไฟล์ที่แก้ไข
#!/bin/bash
# description: Tomcat Start Stop Restart
# processname: tomcat
# chkconfig: 234 20 80
JAVA_HOME=/usr/java/jkd
export JAVA_HOME
PATH=$JAVA_HOME/bin:$PATH
export PATH
CATALINA_HOME=/usr/share/apache-tomcat

case $1 in
start)
sh $CATALINA_HOME/bin/startup.sh
;;
stop)
sh $CATALINA_HOME/bin/shutdown.sh
;;
restart)
sh $CATALINA_HOME/bin/shutdown.sh
sh $CATALINA_HOME/bin/startup.sh
;;
esac
exit 0
หลังจากนั้นก็เพิ่ม Permission ให้ไฟล์สามารถรันได้และให้รันเมื่อมีการปิดเครื่องหรือปิดเครื่อง
#chmod 755 /etc/init.d/tomcat
#chkconfig --add tomcat
#chkconfig -- level 234 tomcat on

จากนั้นลงทดสอบการทำงานของสคริฟต์ในการ start stop และ restart ท่านสามารถดู Log การทำงานของ tomcat ได้จาก /usr/share/apache-tomcat/logs/catalina.out
#tail -f /usr/share/apache-tomcat/logs/catalina.out
จากนั้นให้ท่านลองทดสอบเข้าหน้าเว็บไซต์เพื่อดูว่าการทำงานสามารถใช้งานได้จริง

การตั้งค่าผู้ใช้งานในการใช้งานตัวจัดการแอพลิเคชั่น

ในการ config ตัว apache-tomcat นั้นส่วนมากท่านจะต้องทำการ config เองเกือบทั้งหมดเนื่องจากยังไม่มีการสร้างส่วนแสดงผลให้เราจัดการโดยในการ จัดการ user ไฟล์การตั้งค่าจะอยู่ที่ /usr/share/apache-tomcat/conf/tomcat-users.xml
#vi /usr/share/apache-tomcat/conf/tomcat-users.xml
โดยเพิ่มผู้ใช้งาน admin และให้สิทธิเปน admin-gui และ admin-script เพื่อให้สามารถเข้าใช้งานได้หมดทุกอย่างของตัวจัดการ


เมือเรียบรอยให้ทดลองเข้าหน้า /manager เพื่อทดสอบดูครับ

เป็นอันว่าเรียบร้อยครับสำหรับการติดตั้ง tomcat บน centos
ที่มา http://www.davidghedini.com/pg/entry/install_tomcat_7_on_centos

Wednesday, December 19, 2012

สร้าง Virtual Server ด้วย VirtualBox บน Ubuntu Hardy ตอน 1

สร้าง Virtual Server ด้วย VirtualBox บน Ubuntu Hardy ตอน 1

เนื่องจากที่ผมย้ายโฮสท์ไปใช้ VPS ที่มีแรมขนาด 256MB และได้ทำการเซ็ตอัพโปรแกรมต่างๆไปเยอะแต่ไม่ได้จดว่าทำอะไรไปบ้าง อีกทั้งตอนทำก็ทำตามข้อมูลที่หาได้จากในอินเตอร์เน็ต ดังนั้นก็เลยจะทำ Virtual Server ขึ้นมาแล้วเซ็ตอัพเพื่อให้เป็น Server ทดสอบก่อนไปใช้จริงบน VPS ซึ่งโปรแกรม Vitualize ที่ใช้งานง่ายและฟรีที่ผมรู้จักก็คือ VirtualBox นั่นเอง ในที่นี้ผมจะลงบน Ubuntu และ Guest เป็น Ubuntu Server Edition ดังนั้นก่อนอื่นให้ทำการดาว์นโหลดโปรแกรม VirtualBox และ Ubuntu Server Edition มาเตรียมกันไว้ก่อนเลยครับ


Download






วิธีลงโปรแกรม VirtualBox


ในที่นี้ผมดาว์นโหลด virtualbox_1.6.4-33808_Ubuntu_hardy_i386.deb มาไว้ที่ ~/Download ก็จัดการ Install ซะด้วยคำสั่ง

cd ~/Download
sudo dpkg -i

หลังจากลงเสร็จ เราจำเป็นต้องเซ็ต User Group ให้กับ User ก่อน ซึ่งสามารถใช้ Comand ตามด้านล่าง

sudo usermod -G vboxusers -a annomundi

จากนั้น logout ออกไป เมื่อเข้ามาใหม่แล้วให้ไปที่ Applications -> System Tools -> Sun xVM VirtualBox แต่ถ้าไม่มี Menu นี้ให้ลอง Restart เครื่องดู



วิธีสร้าง Virtual Machine


ต่อไปเราจะทำการสร้าง Virtual Machine ขึ้นมาเพื่อที่จะลง Ubuntu Server ก่อนอื่นให้ไปที่ File -> Virtual Disk Manager จากนั้น ก็กด New เพื่อเริ่มสร้าง Virtual Disk ทำตามรูปไปเรื่อยๆเลยครับ






ถ้าทำตามขั้นตอนในรูป เราจะได้ Virtual Disk ขนาด 3GB ครับ ต่อไปเราจะเริ่มสร้าง Virtual Machine และลง Ubuntu Server กันครับ



ให้กด New เพื่อสร้าง Virtual Machine ก็ทำตามรูปด้านล่างนี้เลยครับ

ใส่ชื่อ Virtual Machine และชนิดของ OS ที่จะลงในที่นี้ก็คือ Ubuntu

กำหนดขนาดของหน่วยความจำของ Virtual Machine ซึ่งในที่นี้ผมเลือก 256MB เพราะ VPS ผมก็ขนาด 256MB

เลือก Virtual Disk ที่เราสร้างในช่วงที่แล้วเพื่อนำมาใช้กับ Virtual Machine ตัวนี้

กด Finish เราก็จะได้ Vitual Machine ว่างๆมา พร้อมให้เราลง Ubuntu


แต่ ก่อนที่เราจะทำการเซ็ต Virtual Machine ต่อ โปรแกรม VirtualBox อาจฟ้องเตือนเกี่ยวกับ USB ตรงนี้ไม่มีผลอะไรกับ Virtual Machine ที่เราจะนำมาทำ Server จำลอง แต่ถ้าใครอยากให้ Virtual Machine สนับสนุน USB ก็ให้ทำตามนี้ครับ



Setup VirtualBox USB Support


ให้ทำการแก้ไขไฟล์ /etc/init.d/mountdevsubfs.sh

sudo nano  /etc/init.d/mountdevsubfs.sh

โดยแก้ตรงส่วน

#
# Magic to make /proc/bus/usb work
#
#mkdir -p /dev/bus/usb/.usbfs
#domount usbfs "" /dev/bus/usb/.usbfs -obusmode=0700,devmode=0600,listmode=0644
#ln -s .usbfs/devices /dev/bus/usb/devices
#mount --rbind /dev/bus/usb /proc/bus/usb

เป็น

#
# Magic to make /proc/bus/usb work
#
mkdir -p /dev/bus/usb/.usbfs
domount usbfs "" /dev/bus/usb/.usbfs -obusmode=0700,devmode=0600,listmode=0644
ln -s .usbfs/devices /dev/bus/usb/devices
mount --rbind /dev/bus/usb /proc/bus/usb

จากนั้นเช็คว่า Group ID ของ vboxusers

Medusa ~: grep vbox /etc/group
vboxusers:x:129:root,annomundi
Medusa ~

จะเห็นว่า groupid ของ group vboxusers บนเครื่องผมคือ 129
จากนั้นเปิดไฟล์ /etc/fstab ขึ้นมา

sudo gedit /etc/fstab

เพิ่มข้อความด้านล่างนี้เข้าไปท้ายสุดของไฟล์ อย่าลือมแก้ devgid=129 เป็นค่า groupid ของ vboxusers บนเครื่องของท่านก่อน แล้วเซฟ

## usbfs is the USB group in fstab file:
none /proc/bus/usb usbfs devgid=129,devmode=664 0 0

จากนั้นกลับไปแก้ไขไฟล์ /etc/init.d/mountkernfs.sh อีกครั้งนึง

sudo gedit /etc/init.d/mountkernfs.sh

ให้หาบรรทัดที่มีข้อความตามค้าล่างนี้

# Mount spufs, if Cell Broadband processor is detected

แล้วใส่ข้อความด้านล่างนี้ในบรรทัดก่อนข้อความตามด้านบน (อย่าลืมแก้ตรง devgid=129 ด้วยนะครับ)

## Mount the usbfs for use with Virtual Box
domount usbfs usbdevfs /proc/bus/usb -onoexec,nosuid,nodev,devgid=129,devmode=664

จากนั้นให้สั่ง

sudo /etc/init.d/mountkernfs.sh

เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสหรับการเซ็ตให้ Virtualbox ใช้งาน USB ได้ (ไม่ได้ลองแต่ Warning จะหายไป)


เตรียมความพร้อมของ Virtual Machine


ก่อนอื่นถ้าคุณโหลด Ubuntu 8.04.1 Server Edition มาแล้ว ให้เราทำการ Mount Image (.iso) เข้ากับ Virtual Machine ก่อนเพื่อจะได้ทำการ Install Ubuntu ลง Virtual Machine ให้เลือก Virtual Macine ที่เราเพิ่งสร้างไปแล้วกด Settings

แล้วไปที่คลิ๊ก Check box ที่ Mount CD/DVD Drive และเลือก ISO Image File ตามรูปบน แล้วคลิ๊กปุ่ม Select ด้านข้าง

กดปุ่ม Add แล้วเลือกไปที่ไฟล์ iso ของ Ubuntu Server ที่เรา download มาในตอนแรก

กด Select แล้วหน้าจะจะเป็นตามรูปด้านล่าง


จากนั้นให้ไปที่ General ตามหน้าจอด้านล่าง

ให้ คลิ๊กที่ Check Box ด้านหน้า Enable PAE/NX ส่วนถ้า CPU ใครรองรับ Virtualize จะกด Enable VT-x/AMD-V ไปก็ได้ครับ จากนั้นกด Ok เพื่อกลับไปที่ Window หลัก


ตอน นี้เราก็พร้อมที่จะบูต Virtual Machine ครั้งแรกแล้วครับ แต่ทีนี้ขั้นตอนการลงจะมีภาพประกอบค่อนข้างเยอะ จึงจะขอตัดไปตอนที่ 2 ครับ ซึ่งจะแสดงขั้นตอนการลง ซึ่งไม่ยากใครเคยลง Linux น่าจะทำได้

วิธีการ Install Ubuntu server 12.04.1 LTS 64 bit

ดาวน์โหลดไฟล์ ISO ที่เว็บ www.ubuntu.com โดยตัวไฟล์นี้จะอยู่ให้หมวด Download
แล้วก็เลือก Ubuntu Server โดยจะเลือก version 64 bit ซึ่งจะเป็น version ที่แนะนำไว้อยู่แล้ว
เมื่อดาวน์โหลดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เขียนไฟล์ลงบนแผ่น CD



หลังจากนั้น ให้บู๊ตแผ่น Ubuntu ที่เขียนไว้ เมื่อบู๊ต CD เสร็จแล้วจะขึ้นหน้าจอดังภาพต่อไปนี้
ในรูปภาพนี้จะเป็นขั้นตอนการเลือกภาษาที่จะใช้ในการติดตั้ง โดยให้เลือก English แล้วกด Enter

จะขึ้นหน้าจอเพื่อกดตกลงในการติดตั้ง Ubuntu Server ให้กดที่ “Install Ubuntu Server” แล้วกด Enter

หน้าถัดมาจะเป็นการเลือกภาษาในการติดตั้ง ให้เลือก English

ในหน้านี้จะเป็นหน้าให้เลือก Location ที่อยู่ปัจจุบัน เพื่ออ้างอิงถึง Timezone เพราะ ในเวลาอัพเดทนั้น
ตัว Server ที่เราลงนั้น จะเรียกหา Server ที่ใกล้ที่สุด เพื่อเรียกข้อมูลในการอัพเดท ดังนั้นขั้นตอนนี้จะต้องเลือกให้ถูกต้อง
เพื่อให้การติดตั้งโปรแกรม และอัพเดท จะเร็วมากขึ้น โดยให้เลือก Other > Asia > Thailand




หน้าถัดไปจะเป็นขั้นตอนการเลือก Configure Locales เป็นขั้นตอนการเลือกการแสดงผลของตัวอักษรต่างๆให้เลือก United States – en_US-UTF-8

หน้านี้จะเป็นการให้ระบบ Detect Keyboard ให้กด “No”

หน้านี้จะเป็นการเลือกภาษาที่จะพิมพ์บน Terminal Command  โดยให้เลือก English [US]


โดยในขั้นตอนต่อไปนี้จะเกี่ยวกับการตั้งค่า User Password และ การเซ็ต IP Address ของเครื่อง โดยขั้นตอนแรก
ตัวระบบจะให้ตั้งชื่อ Hostname เผื่ออ้างอิงกับ ISP ที่กำหนดไว้ การตั้งชื่อนั้น จะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวเลขก็ได้

ขั้นตอนนี้จะเป็นการใส่ชื่อ Full Name ของผู้ใช้ Server

ขั้นตอนถัดมาจะเป็นการตั้ง Username โดยการตั้ง Username นั้น จะต้องเป็นภาษาอังกฤษตัวเล็กทั้งหมด สามารถมี (- dash) ได้

หน้านี้จะเป็นการตั้ง Password โดยการตั้ง Password นั้น ควรตั้งอย่างน้อย 4 ตัวเป็นต้นไป

ขั้นตอนนี้จะเป็นการถามว่า จะให้ทำการเข้ารหัสข้อมูลที่เก็บใน Folder Home หรือเปล่า ถ้าหากว่า ข้อมูลที่จะเก็บนั้น
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเข้ารหัส ก็กด Enter ที่ No

ให้รอจนกระทั่ง ขึ้นหน้ายืนยันเวลา Timezone เพื่อเป็นการหา Server update ที่ใกล้ที่สุด ให้ดูว่าเป็น Asia/Bangkok หรือไม่
ถ้าใช้ให้กด Yes เพื่อไปในขั้นตอนถัดไป


ขั้นตอนนี้จะเกี่ยวกับการแบ่ง Partition ให้เลือก Guided – use entire disk and set up LVM

หน้านี้จะเป็นการเลือก Partition ที่จะลง OS ให้เลือก Partition ที่ต้องการ แล้วกด Enter

หน้านี้จะเป็นหน้าสรุปผลการจัดการ Partition ของเรา เมื่อถูกต้องแล้ว ให้ไปที่ “Yes” แล้วกด Enter


หลังจากนี้จะเป็นขั้นตอนการ Install system ให้รอจนกระทั่ง ขึ้นหน้าที่ให้กรอก Proxy โดยช่องนี้ให้ปล่อยว่างไว้ ไปที่ Continue แล้วกด Enter


หลังจากการขั้นตอนการใส่ Proxy แล้ว จะเป็นขั้นตอนการ Update แล้ว การลงโปรแกรม Server ที่ต้องการ
โดยหน้าที่ให้เลือกการ Update ให้เลือกหัวข้อ No automatic updates แล้วกด Enter

ในหน้านี้จะเป็นการเลือกลงโปรแกรมที่ต้องการใช้ ถ้าหากต้องการโปรแกรมโชว์อยู่ ให้กด Space bar ในช่องที่ต้องการ
ถ้าหากไม่ต้องการโปรแกรมอะไรเลย ให้ Space bar ที่ช่อง Manual package selection เมื่อทำการเลือกเสร็จ ให้กด Enter

ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการ Install โดยหน้านี้จะให้เลือกว่า จะให้สร้าง GRUB หรือไม่
ถ้าไม่ต้องการหรือว่าต้องให้ให้บูตเข้าที่ Server เลย ให้เลือก No ถ้าต้องการ GRUB ให้กด Yes แล้วกด Enter


เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้ว เครื่องจะทำการเข้าหน้า Command Promp โดยอัตโนมัติ ในขั้นตอนนี้จะต้อง Reboot เครื่อง
เพื่อทดสอบว่า การลงที่ผ่านมานั้น มีปัญหาในขั้นตอนการลงหรือไม่ โดยจะรู้จากการอ่าน Text ระหว่าง shutdown และ Reboot
โดยคำสั่งที่ใช้ในการ Shutdown คือ $sudo shutdown –h now
เมื่อ Shutdown เสร็จเรียบร้อย ให้เปิดเครื่องอีกหนึ่งครั้งเพื่อเช็ค Service ของ Server ในการ Boot เครื่อง และเป็นขั้นตอนการลงโปรแกรมที่ต้องการในขั้นตอนนี้ด้วย


เมื่อ Login เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะเป็นขั้นตอนการตรวจสอบการอัพเดทของ Ubuntu Server
โดยใช้คำสั่ง $sudo apt-get update ในการอัพเดท


เมื่อทำการอัพเดทเสร็จ ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการเช็ค อัพเกรดของโปรแกรม System ของ Ubuntu โดยจะให้คำสั่ง
$sudo apt-get upgrade

เมื่อกดคำสั่งเสร็จเรียบร้อย จะมีรายงานว่าตัว OS จะอัพเกรดอะไร
ณ ที่นี้ จะอัพเกรดตัว Linux-server จะมีคำถามยืนยันให้กด y แล้วกด Enter

เมื่อเสร็จแล้วก็จะขึ้นหน้า Command Promp เป็นการลง OS ที่เสร็จเรียบร้อยแล้วแต่ถ้าหากผู้ใช้ต้องการ Server GUI ด้วย
จะต้องใช้คำสั่งลงตัว GUI Desktop เพิ่ม โดยจะใช้คำสั่ง $sudo apt-get install Ubuntu-desktop



เมื่อ Boot เครื่องใหม่แล้ว ขึ้นหน้าจอเหมือนภาพสุดท้าย ก็ถือว่าขั้นตอนการลง Ubuntu Server เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
ที่เหลือก็จะเป็นขั้นตอนการลงโปรแกรมตามแต่ที่ผู้ใช้จะต้องการ

 
Design by GURU