ช่วงนี้มีโปรเจคที่จะต้องลง Zimbra
ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ทำระบบอีเมลเซิร์ฟเวอร์
มีระบบปฏิบัติการที่รองรับเพียงแค่ Red Hat Enterprise Linux, SUSE Linux
Enterprise Server และ Ubuntu Server เท่านั้น
ซึ่งถ้าพิจารณาจากตัวเลือกที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดก็คงต้องใช้
Ubuntu Server เท่านั้น
หลายคนอาจจะรู้จัก Ubuntu จากเวอร์ชัน Desktop ซึ่งเป็นลินุกซ์ที่ถูกปรับปรุงจาก Debian และพยายามทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด แต่จริงๆ แล้ว Ubuntu ยังมีเวอร์ชัน Server ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานเป็นเครื่องแม่ข่ายโดยเฉพาะด้วยเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นบทความนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการติดตั้ง Ubuntu Server กันแบบทีละขั้นตอน ซึ่งเวอร์ชันของ Ubuntu Server ที่ผมจะใช้เขียนบทความนี้ (และเป็นเวอร์ชันที่รองรับ Zimbra) คือ Ubuntu Server 10.04 LTS (Lucid Lynx) 64-bit สามารถดาวน์โหลด ISO ได้จาก ที่นี่ เลยครับ
พอใส่แผ่นซีดี เปิดเครื่องให้บูทผ่านแผ่นซีดีขึ้นมาก็จะพบกับหน้าจอเลือกภาษาก่อน ให้เลือก English
เสร็จแล้วให้เราเลือก Install Ubuntu Server เพื่อเริ่มการติดตั้ง
หลังจากนั้นจะเป็นหน้าจอเลือกภาษาที่ใช้ในการติดตั้งอีกครั้ง ให้เลือก English
ขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือกที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์ของเรา โดยถ้าเป็นประเทศไทย ให้เลือก other > Asia > Thailand ตามลำดับ
จะเป็นการเลือกรูปแบบการพิมพ์ของเรา ให้เลือกตอบ No ไปได้เลย
จะเป็นการเลือกภาษาของคีย์บอร์ด ให้เลือกเป็น USA
จะเป็นการเลือกรูปแบบภาษาของคีย์บอร์ด ให้เลือกเป็น USA เช่นกัน
หลังจากนั้นตัวติดตั้งจะทำการโหลดไดร์เวอร์พื้นฐาน และตรวจสอบการตั้งค่าเกี่ยวกับระบบเครือข่าย ให้รอสักครู่ ถ้าตัวติดตั้งตรวจสอบไม่พบ DHCP ตัวติดตั้งจะถามการตั้งค่าระบบเครือข่าย เช่น IP Address, Subnet Mask, Gateway และ DNS Server แต่ถ้าตัวติดตั้งตรวจสอบพบ DHCP จะข้ามขั้นตอนการตั้งค่าเครือข่ายไปยังขั้นตอนต่อไปทันที
ให้เราตั้งชื่อเครื่องแบบ FQDN ดังตัวอย่างตั้งค่าเป็น ubuntu.wingfoss.in.th
ตัวติดตั้งจะค้นหาที่ตั้งของเราให้โดยอัตโนมัติ ถ้าถูกต้องแล้วก็เลือกตอบ Yes ไปได้เลย
ตรงนี้จะเป็นการตั้งค่าพาร์ทิชันของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งในที่นี้ ผมเลือก Guided - use entire disk เพื่อให้ตัวติดตั้งจัดการตั้งค่าพาร์ทิชันให้อัตโนมัติ
เลือกฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง Ubuntu Server ซึ่งในที่นี้มีฮาร์ดดิสก์เพียงแค่ลูกเดียว ก็กด Enter ไปได้เลย
ตัวติดตั้งจะถามยืนยันว่าจะทำพาร์ทิชันตามนี้หรือไม่ ถ้าดูเรียบร้อยแล้วก็เลือก Yes ไปได้เลย
รอติดตั้งสักครู่หนึ่ง
ตัวติดตั้งจะให้สร้างผู้ใช้สำหรับจัดการระบบ ให้เราใส่ชื่อเต็มลงไปก่อน
แล้วให้ใส่ชื่อผู้ใช้หรือ Username
หลังจากนั้นจะเป็นใส่รหัสผ่าน ให้ใส่เหมือนกันทั้งสองครั้ง
ตัวติดตั้งจะถามว่าต้องการเข้ารหัส Home Directory หรือไม่ ให้ตอบ No
ตัวติดตั้งจะถามตั้งค่า Proxy ให้กด Enter ข้ามไปได้เลย
ถ้าเครื่องของเราตั้งค่าระบบเครือข่ายสามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้ ตัวติดตั้งจะตรวจสอบการอัพเดตซอฟต์แวร์ในเครื่อง ให้รอสักครู่
ตัวติดตั้งจะถามว่าต้องการให้ติดตั้งอัพเดตอัตโนมัติหรือไม่ ปกติผมจะตอบ No automatic updates เพราะต้องการจัดการด้วยตนเองมากกว่า
จะเป็นหน้าจอให้เราเลือกซอฟต์แวร์ที่ต้องการติดตั้ง ซึ่งปกติผมจะไม่เลือกติดตั้งอะไรเลย ค่อยไปติดตั้งทีหลังเอา ให้กด Tab ให้แถบแสงไปที่ Continue แล้วกด Enter
รอตัวติดตั้งทำการติดตั้งซอฟต์แวร์
ตัวติดตั้งจะถามให้เราลง GRUB boot loader ให้ตอบ Yes
มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ให้เราตอบ Continue เพื่อรีบูตเครื่องใหม่
หลังจากบูทเครื่องใหม่เสร็จสิ้น ก็จะพบกับหน้าจอให้ล็อคอิน เราสามารถล็อคอินด้วยชื่อผู้ใช้กับรหัสผ่านที่เราสร้างเมื่อตอนติดตั้งได้ ทันที
หลายคนอาจจะรู้จัก Ubuntu จากเวอร์ชัน Desktop ซึ่งเป็นลินุกซ์ที่ถูกปรับปรุงจาก Debian และพยายามทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด แต่จริงๆ แล้ว Ubuntu ยังมีเวอร์ชัน Server ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานเป็นเครื่องแม่ข่ายโดยเฉพาะด้วยเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นบทความนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการติดตั้ง Ubuntu Server กันแบบทีละขั้นตอน ซึ่งเวอร์ชันของ Ubuntu Server ที่ผมจะใช้เขียนบทความนี้ (และเป็นเวอร์ชันที่รองรับ Zimbra) คือ Ubuntu Server 10.04 LTS (Lucid Lynx) 64-bit สามารถดาวน์โหลด ISO ได้จาก ที่นี่ เลยครับ
พอใส่แผ่นซีดี เปิดเครื่องให้บูทผ่านแผ่นซีดีขึ้นมาก็จะพบกับหน้าจอเลือกภาษาก่อน ให้เลือก English
เสร็จแล้วให้เราเลือก Install Ubuntu Server เพื่อเริ่มการติดตั้ง
หลังจากนั้นจะเป็นหน้าจอเลือกภาษาที่ใช้ในการติดตั้งอีกครั้ง ให้เลือก English
ขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือกที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์ของเรา โดยถ้าเป็นประเทศไทย ให้เลือก other > Asia > Thailand ตามลำดับ
จะเป็นการเลือกรูปแบบการพิมพ์ของเรา ให้เลือกตอบ No ไปได้เลย
จะเป็นการเลือกภาษาของคีย์บอร์ด ให้เลือกเป็น USA
จะเป็นการเลือกรูปแบบภาษาของคีย์บอร์ด ให้เลือกเป็น USA เช่นกัน
หลังจากนั้นตัวติดตั้งจะทำการโหลดไดร์เวอร์พื้นฐาน และตรวจสอบการตั้งค่าเกี่ยวกับระบบเครือข่าย ให้รอสักครู่ ถ้าตัวติดตั้งตรวจสอบไม่พบ DHCP ตัวติดตั้งจะถามการตั้งค่าระบบเครือข่าย เช่น IP Address, Subnet Mask, Gateway และ DNS Server แต่ถ้าตัวติดตั้งตรวจสอบพบ DHCP จะข้ามขั้นตอนการตั้งค่าเครือข่ายไปยังขั้นตอนต่อไปทันที
ให้เราตั้งชื่อเครื่องแบบ FQDN ดังตัวอย่างตั้งค่าเป็น ubuntu.wingfoss.in.th
ตัวติดตั้งจะค้นหาที่ตั้งของเราให้โดยอัตโนมัติ ถ้าถูกต้องแล้วก็เลือกตอบ Yes ไปได้เลย
ตรงนี้จะเป็นการตั้งค่าพาร์ทิชันของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งในที่นี้ ผมเลือก Guided - use entire disk เพื่อให้ตัวติดตั้งจัดการตั้งค่าพาร์ทิชันให้อัตโนมัติ
เลือกฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง Ubuntu Server ซึ่งในที่นี้มีฮาร์ดดิสก์เพียงแค่ลูกเดียว ก็กด Enter ไปได้เลย
ตัวติดตั้งจะถามยืนยันว่าจะทำพาร์ทิชันตามนี้หรือไม่ ถ้าดูเรียบร้อยแล้วก็เลือก Yes ไปได้เลย
รอติดตั้งสักครู่หนึ่ง
ตัวติดตั้งจะให้สร้างผู้ใช้สำหรับจัดการระบบ ให้เราใส่ชื่อเต็มลงไปก่อน
แล้วให้ใส่ชื่อผู้ใช้หรือ Username
หลังจากนั้นจะเป็นใส่รหัสผ่าน ให้ใส่เหมือนกันทั้งสองครั้ง
ตัวติดตั้งจะถามว่าต้องการเข้ารหัส Home Directory หรือไม่ ให้ตอบ No
ตัวติดตั้งจะถามตั้งค่า Proxy ให้กด Enter ข้ามไปได้เลย
ถ้าเครื่องของเราตั้งค่าระบบเครือข่ายสามารถต่ออินเทอร์เน็ตได้ ตัวติดตั้งจะตรวจสอบการอัพเดตซอฟต์แวร์ในเครื่อง ให้รอสักครู่
ตัวติดตั้งจะถามว่าต้องการให้ติดตั้งอัพเดตอัตโนมัติหรือไม่ ปกติผมจะตอบ No automatic updates เพราะต้องการจัดการด้วยตนเองมากกว่า
จะเป็นหน้าจอให้เราเลือกซอฟต์แวร์ที่ต้องการติดตั้ง ซึ่งปกติผมจะไม่เลือกติดตั้งอะไรเลย ค่อยไปติดตั้งทีหลังเอา ให้กด Tab ให้แถบแสงไปที่ Continue แล้วกด Enter
รอตัวติดตั้งทำการติดตั้งซอฟต์แวร์
ตัวติดตั้งจะถามให้เราลง GRUB boot loader ให้ตอบ Yes
มาถึงขั้นตอนสุดท้าย ให้เราตอบ Continue เพื่อรีบูตเครื่องใหม่
หลังจากบูทเครื่องใหม่เสร็จสิ้น ก็จะพบกับหน้าจอให้ล็อคอิน เราสามารถล็อคอินด้วยชื่อผู้ใช้กับรหัสผ่านที่เราสร้างเมื่อตอนติดตั้งได้ ทันที
0 comments:
Post a Comment