การติดตั้งแพ็กเกจ RPM, TAR และ YUM
การติดตั้งแพ็กเกจแบบ RPM
RPM ย่อมาจาก Redhat Packages Manager เป็นรูปแบบแพ็กเกจที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท RedHat โดยระบบบปฏิบัติการที่สามารถใช้แพ็กเกจแบบ rpm ได้เช่น RedHat Linux, Fedora, CentOS รายละเอียดที่ผู้อ่านควรทราบในการติดตั้งแพ็กเกจมีดังนี้
การตรวจสอบแพ็กเกจ
===========
# rpm -q httpd ใช้ตรวจสอบแพ็กเกจว่าถูกติดตั้งอยู่ในระบบหรือไม่
# rpm -qa|grep mysql ตรวจสอบแพ็กเกจมายเอสคิวแอลที่ติดอยู่ในเครื่อง
# rpm -ql httpd|less ใช้ตรวจสอบแพ็กเกจและห้องเก็บข้อมูลต่างๆ หลังการติดตั้ง
===========
การติดตั้งแพ็กเกจ
# rpm -i ชื่อแพ็กเกจ.เวอร์ชั่น.rpm (ติดตั้งไม่ดูรายละเอียด)
# rpm -ivh ชื่อแพ็กเกจ.เวอร์ชั่น.rpm (ติดตั้งแบบดูรายละเอียด) นิยมใช้งาน
# rpm -ivh --nodeps ชื่อแพ็กเกจ.เวอร์ชั่น.rpm (ติดตั้งแบบไม่สนใจการตรวจสอบ)
การอัปเกรดแพ็กเกจ
# rpm -Uvh ชื่อแพ็กเกจ.เวอร์ชั่น.rpm (ติดตั้งแบบดูรายละเอียด)
การลบแพ็กเกจ
# rpm -e ชื่อแพ็กเกจ (ลบแพ็กเกจออกจากระบบ)
# rpm -e --nodeps ชื่อแพ็กเกจ (ลบแพ็กเกจออกจากระบบไม่สนใจการตรวจสอบ)
การติดตั้งแพ็กเกจแบบ TAR (tape archiver)
แพ็กเกจลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์ต้นฉบับ (Source file) ก่อนการใช้งานต้องทีการสั่งคอมไพล์ไฟล์ใหม่ เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการศึกษาการใช้งานระบบลีนุกซ์ในเชิงลึกควรศึกษาการ ติดตั้งแพ็กเกจแบบ TAR ไว้ เนื่องจากไฟล์ต้นแบบ TAR file สามารถนำไปติดตั้งได้ทั้ง ระบบ Linux/BSD/UNIX อาทิ RedHat, Fedora, CentOS, Debian, Ubuntu, Gentoo, FreeBSD, OpenBSD, NetBSD, Solaris, OpenSolaris ตัวอย่างนามสกุลของไฟล์แบบ TAR เช่น *.tar.gz, *.tgz, *.gz, *.tar
การบีบอัดไฟล์ด้วยคำสั่ง TAR
# tar -cvf ชื่อไฟล์.tar.gz /ข้อมูลที่ต้องการ
หรือ
# tar -cvf ชื่อไฟล์.tgz /ข้อมูลที่ต้องการ
การแตกไฟล์ด้วยคำสั่ง TAR
# tar -zxvf ชื่อแพ็กเกจ.tar.gz
เช่น
# tar -zxvf squid-3.0.STABLE8.tar.gz
การติดตั้งแพ็กเกขแบบ TAR
# tar -zxvf ชื่อแพ็กเกจ.tar.gz (แตกไฟล์ tar.gz)
# cd ชื่อแพ็กเกจ
# ls
# ./configure
# make
# make install
การติดตั้งแพ็กเกจแบบ YUM
YUM ย่อมาจาก Yellow dog Updater, Modified เป็นทูลช่วยในการติดตั้งและอัปเกรดแพ็กเกจแบบ RPM แบบอัตโนมัติ ในปัจจุบันการติดตั้งแพ็กเกจแบบ yum นับวันได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีความง่ายในการใช้งาน
รูปแบบ
# yum install mysql [enter] ติดตั้ง MySQL Client
# yum install mysql-server [enter] ติดตั้ง MySQL Server
# yum install httpd php mysql mysql-server [enter] ติดตั้ง Apache, PHP, MySQL Client และ MySQL Server
Monday, December 20, 2010
การใช้งาน CentOS Linux แบบมือโปร (ตอนที่ 5)
7:47 PM
Computer !
No comments
0 comments:
Post a Comment