Friday, December 17, 2010

มาใช้ Vmware Server 2 กันดีกว่า

ชื่อ Vmware คงไม่ต้องบรรยายสรรคุณกันมากนัก แต่ว่า มันแตกแขยงแยกย่อยออกมาเยอะเหลือเกิน ที่นิยมใช้กันอยู่ ก็มีพวก vmware work stations ซึ่งมันไม่ฟรี ครับ
ช้าก่อน อย่าพึ่งมาว่าผมบ้านะ

work station มีไว้ขาย

server  แจกให้ใช้ฟรี
ถึงแม้ว่าจะแจกให้ใช้ฟรี แต่เราต้องทำการลงทะเบียนเพื่อขอ Serial Number สำหรับใช้งาน ส่วนจะขอมากขอน้อย ก็แล้วแต่ความต้องการของท่านเองครับ (ผมเคยขอเป็น 100 ยังได้เลย)
อ่าว ว่าแล้วก็ไปดาวน์โหลดกันเลยครับ ที่นี่เลย http://www.vmware.com/products/server/

ดาวน์โหลดมาแล้ว ก็ติดตั้งได้เลยครับ ทำตามสเต็ปไปเรื่อย ๆ แล้วมันจะบังคับให้รีสตาร์ทเครื่อง 1 รอบ

เมื่อรีสตาร์ทเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องตกใจนะครับ ที่หน้าต่าง login windows เปลี่ยนไป เป็นไปเพื่อความเหมาะสมในการเรียกใช้งานครับ ซึ่ง vmware จำเป็นต้องให้มีการใช้งานหลายคน (เพราะเป็น versions server) ซึ่งถ้าเป็น login แบบเดิม ชื่อคงล้นหน้าจอแหง ๆ
สำหรับคนที่เคยใช้เวอร์ชั่น 1 มาแล้ว อาจจะรู้สึกแปลกตาไปบ้างครับ เพราะผมเองก็งงเหมือนกัน ปัญหามีไว้ให้แก้ไขครับ เรื่องแค่นี้เราจัดการได้
เริ่มต้นใช้งาน ก็ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ ไอคอนของ vmware ที่หน้าจอนั่นแหละครับ หรือจะเปิดจาก Start Menu เอาก็ได้ เมื่อเปิดขึ้นมาแล้ว มันจะเรียกใช้งานเบราเซอร์ (แล้วแต่ว่าท่านได้ตั้ง Default Browser ว่าตัวไหน) ซึ่งผมใช้ FireFox ในมาตรฐานในการเรียกใช้งาน
จากนั้น จะเจอหน้าต่าง Login ครับ (ตอนนี้แหละที่ผมงง เพราะมันไม่เคยถาม user , password เลย ลองเอา user ที่ผมใช้อยู่ก็ใช้งานไม่ได้)
ให้กรอก Username : administrator    Password : (adminpassword)
แต่ถ้า ท่านยังไม่ได้ตั้ง password ของ administrator ก็สามารถทำตามผมได้ครับ ดังนี้
  • คลิ๊กขวาที่ My Computer แล้วเลือก Manage

  • เมื่อเข้าหน้าต่างของ Computer Management แล้ว ให้คลิ๊กที่ Local Users and Groups

  • ให้ดับเบิ้ลคลิ๊กที่ Users แล้วจะเห็นรายชื่อทั้งหมดที่อยู่ในเครื่องของเรา
  • ตอนนี้เราต้องการใช้งาน Administrator หรือบางคนต้องการจะเปลี่ยนรหัสผ่าน ก็ให้คลิ๊กขวาที่ Administrator แล้วเลือก Set Password

  • จะปรากฎหน้าต่างให้ทำการ Set Password ของ Administrator ให้กรอก Password ที่ท่านต้องการลงไปครับ ให้เหมือนกันทั้งสองช่อง แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม OK (ต้องจำรหัสผ่านนี้ให้ดีนะครับ งั้นเข้าวินโดว์ไม่ได้เน้อ)

  • เอาละ คราวนี้ก็ให้เปิดโปรแกรม vmware ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ก็คลิ๊กจาก Start Menu หรือดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไอคอนหน้าจอก็ได้ครับ
  • เมื่อเปิดมาแล้ว จะมีช่องให้กรอก Login Name และ Password ก็ให้กรอก
    • Login Name : administrator
    • Password : เซ็ตเมื่อกี้

  • ถ้ายังเข้าไม่ได้ ให้ตรวจสอบคำสะกดของ administrator และ password อีกครั้งหนึ่ง
  • ถ้าเข้าได้แล้ว จะเห็นหน้าตาที่แตกต่างจากเวอร์ชั่น 1 อยู่มากครับ ความจริงให้ความรู้สึกเหมือนกำลังใช้เวอร์ชั่น ESX ด้วยซ้ำ
  • เอาละ สิ่งที่น่าสังเกตุอีกอย่างหนึ่งก็คือ โปรแกรม vmware จะสร้าง โฟลเดอร์ Virtual Machine ไว้ที่ Drive C:

  • แต่ถ้า Drive C: ของท่าน เหลือพื้นที่เพียงน้อยนิดเหมือนผม หรือไม่ต้องการให้สร้าง Virtual Machine ไว้ที่ Drive C: ละก็ สามารรถแก้ไขได้ครับ โดยให้คลิ๊กที่ Data Store

  • จากนั้นให้ระบุพาร์ทไปยัง Drive ที่ต้องการ เช่นผมต้องการใช้งานที่ Drive D:
  • นอกจากนี้ยังสามารถระบุพาร์ทไปยังเครื่องอื่นได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เครื่องข้าง ๆ ผม แชร์ไดร์ฟไว้ ผมก็บอกให้ vmware ไปใช้พื้นที่จากเครื่องข้าง ๆ ผม โดยเลือกที่ออปชั่น CIFS
  • เมื่อเลือกเสร็จแล้ว ก็จะปรากฎ Drive ที่เราเพิ่มไปเมื่อกี้ครับ

เห้อ เยอะเหมือนกันแฮะ การใช้งานของผลัดเป็น part 2 ละกันครับ

มาใช้ Vmware Server 2 กันดีกว่า (Part 2)

ทีแรกว่าจะเว้นวันเขียน แต่ไฟกำลังแรง ไม่ต้องกลัวหมดมุข อิอิ
เข้าเรื่องเลยดีกว่า จาก “มาใช้ Vmware Server 2 กันดีกว่า (Part 1)” ได้พูดถึงการติดตั้งและการเรียกใช้งานเบื้องต้นเป็นที่เรียบร้อยโรงเรียน ประเสริฐ อิอิ คราวนี้มาพูดถึงการใช้งานแบบจริง ๆ จัง ๆ กันดีกว่า
เครื่องที่ผมติดตั้ง Vmware Server คือหมายเลข 10.3.6.38 (ระบบปฏิบัติการ windows xp 32 bit)
เครื่องที่ผมใช้งานก็เป็น ระบบปฏิบัติการ windows xp 32 bit เหมือนกัน
ดังนั้น เวลาผมจะเรียกใช้งาน สามารถเรียกใช้โดยเปิดเบราเซอร์ (Firefox 3) ดังนี้
https://10.3.6.38:8333
  • ให้กรอก Login Name และ Password ตามที่เราได้กำหนดไว้ใน Part 1
  • เมื่อ Login เข้ามาแล้ว จะยังไม่มี Virtual Machine ใด ๆ เลย เพราะ เราพึ่งติดตั้งเสร็จใหม่ ๆ
  • ถ้าต้องการสร้าง Virtual Machine ให้คลิ๊กที่ Create Virtual Machine

  • หน้าต่างของ Name and Locations คือชื่อที่เราต้องการตั้งให้กับ Virtual Machine นี้ ในที่นี้ ผมต้องการติดตั้ง Windows XP ผมเลยใช้ชื่อว่า windows xp
  • ต่อไปเป็นการเลือกระบบปฏิบัติการที่เราต้องการติดตั้ง แหงละ ผมต้องการติดตั้ง windows xp ผมเลยเลือกเป็น windows operating system และเลือกลิสต์ในด้านล่างให้เป็น Microsoft Windows XP Professional (32bit)

  • ต่อไปเป็นการเลือกขนาดของ RAM (Memory) และจำนวน CPU ที่ต้องการใช้ ซึ่งตัว Vmware จะมีค่าที่เหมาะสมอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเราต้องการเปลี่ยนแปลงค่า ให้ตรงตามความต้องการของเรา ก็สามารถแก้ไขที่หน้านี้ได้เลยครับ

  • เนื่องจากผมใช้แค่ทดลอง ผมเลย เลือกเอาตามค่ามาตรฐานไปก่อน
  • ต่อไปเป็นการกำหนด การใช้งานพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ จะให้ฮาร์ดดิส์กับตัว Virtual Machine ตัวนี้เท่าไหร่

  • เห็นใจฮาร์ดดิสก์ผมนิดนะ มีน้อยมาก ผมเลยให้มันไป 8GB ครับผม ซึ่งก็น่าจะเพียงพอต่อการทดสอบในครั้งนี้

  • ต่อไปจะเป็นการเพิ่มเติมในส่วนของ Network หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า การ์ดแลน

  • ซึ่ง Vmware จะมีอยู่ 3 โหมดด้วยกันดังนี้
    • Bridge คือ โหมดที่จะให้เครื่อง Virtual รับหรือใช้งานไอพีคลาสเดียวกันกับเครื่องแม่ข่าย
    • Host only คือ โหมดที่จะให้ Virtual Machine สามารถติดต่อกันเองภายใน
    • NAT คือ โหมดที่จะให้เครือ่ง Virtual Machine เป็นไอพีคลาสอื่น ซึ่งถ้าต้องการออกภายนอก จะถูก NAT จากไอพีของเครื่องแม่ข่ายครับ
  • ผมเลือกใช้งานเป็น Bridge

  • ต่อไปเป็นการเลือกใช้งาน CD Rom ครับ ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ที่เป็น ไดร์ฟ CD-ROM จริง ๆ หรือจะเลือกใช้จากไฟล์ที่เป็น Image ก็ได้ครับ ซึ่งผมขอเลือกเป็น ไดร์ฟ CD-ROM จริง ๆ ก่อนนะครับ (อันที่จริง เราแก้ไขภายหลังได้ทุกอย่างครับ)

  • เมื่อเลือกเป็น ไดร์ฟ CD-ROM จริง ๆ มันก็เลยให้เลือกว่าจะใช้ไดร์ฟอะไร ผมเลยเลือกเป็นไดร์ฟ E: ซึ่งเป็นไดร์ฟที่ผมใช้งานจริง

  • ขั้นถัดมาคือการเพิ่ม Floppy Drive ถ้าอยากให้มีก็คลิ๊กที่ Next เพื่อทำขั้นตอนถัดไป แต่ถ้าไม่ต้องการใช้แล้ว ก็ให้คลิ๊กที่ Don’t add a Floppy Drive (ผมเลือกให้มีครับ อยากให้มีอะไรที่หลากหลาย)

  • แน่นอนละ ถ้า Add ไปแล้ว จะให้เป็นไดร์ฟอะไร ค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้คือ Drive A: และยังบอกว่า ให้ทำการคอนเน็คเวลาที่เปิดเครื่อง

  • ต่อไปเป็นการเพิ่ม USB ครับ จะว่าไปแล้ว มีความสำคัญมากกว่า Floppy Drive ซะอีก

  • อ่าาาาาาาาา เสร็จซะที หน้านี้จะเป็นสรุปผลที่เราได้ทำการปรับแต่งตัว Virtual Machine ไปเมื่อกี้ ซึ่งทั้งหมดนี้เราสามารถปรับเปลี่ยนได้ในภายหลังครับ

  • หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนยุทธแล้ว ก็จะกลับมาสู่หน้าต่างหลัก โดยจะมีตัว Virtual Machine เพิ่มเข้ามาในช่อง Inventory ด้านซ้ายมือนะครับ ให้คลิ๊กที่ชื่อของ Virtual Machine นั้นได้เลย (ผมคลิ๊กที่ Windows xp)

  • อ๊ะ อย่าพึ่ง งง ครับ ว่าจะใช้หน้าจอจากที่ไหน อิอิ บอกก็ได้ คลิ๊กที่ Console ครับ ตัว Vmware จะแจ้งให้ทำการติดตั้ง ปลั๊กอิน เพื่อเข้าใช้งาน Virtual Machine
  • ตอนนี้ผมใช้เบราเซอร์ FireFox3 อยู่ครับ ผมก็คลิ๊กที่ Install ตรงหน้าจอดำ ๆ นั่นแหละครับ FireFox3 จะให้ติดตั้งปลั๊กอิน ขั้นตอนก็เหมือนติดตั้งปลั๊กอินทั่วไปครับผม



  • หลังจากที่รีสตาร์ทเบราเซอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้เข้าโปรแกรม Vmware ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ก็จาก Start Menu หรือ การดับเบิ้ลคลิ๊กที่ไอคอนของ vmware ที่หน้าจอก็ได้ครับ
  • เมื่อ Log in เข้ามาแล้ว ก็ให้เข้าไปที่เดิมคือ
    • Inventory –> windows xp –> console

  • ให้คลิ๊กที่เครื่องหมาย play ที่หน้าจอดำ ๆ นะครับ คลิ๊กเดียวนะ รอซักพักประมาณ 5 วินาที จะมีหน้าต่างของ Virtual Machine ขึ้นมา
  • ซึ่ง มันยังเป็นเครื่องใหม่ ๆ ยังไม่ได้รับการติดตั้ง OS ใด ๆ ผมก็เลยเอาแผ่น windows xp ใส่เข้าที่ Drive E: แล้ว Power On (ปุ่มเขียว ๆ ที่ตัว vmware นะครับ)


  • การใช้งานเบื้องต้น
    • ต้องการใช้งานในหน้าจอนั้น ๆ ให้ทำการคลิ๊ก หรือ กดปุ่น Ctrl + G
    • ต้องการออกจากหน้าต่างนั้น ๆ ให้กด Ctrl + Alt
    • ต้องการส่งคอมมานด์ Ctrl + Alt + Del ให้กดปุ่ม Ctrl + Alt + Insert ทดแทน
    • ต้องการแสดงผลเต็มจอ ให้กด Ctrl + Alt + Enter
  • ถ้าไม่ต้องการใช้งาน หรือต้องการออกจากระบบแล้ว ให้ปิดหน้าต่างได้ทันทีครับ (อาจจะ Log off ก่อนก็ได้)
  • ได้เวลายลโฉม XP ของเราแล้วครับ อิอิ

หากมีข้อสงสัย ถามได้ครับ คอมเม้นต์มาหน่อย เขียนเองอ่านเอง มันเหงาครับ

1 comments:

gorapat said...

แล้วมันจะเป็นรีโมทได้ไหมครับ พอดีอยากจะเปิด VPS อะครับ มีCOLO แล้วแต่เขาบอกหาวิธีเปิดเอาเอง

Post a Comment

 
Design by GURU